งานศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

หน่วยงาน Nectec คือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
(National Electronics and Computer Technology Center)

     เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้น เพื่อให้การรับรองคุณภาพบริภัณฑ์ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และ คอมพิวเตอร์ ตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดโดยอ้างอิงมาตรฐานระดับชาติของประเทศไทย ซึ่งมีเครื่องหมายรับรองที่เรียกว่า “เครื่องหมายรับรองคุณภาพเนคเทค”

วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรวิจัยที่ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรเพื่อสร้างผลงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ มีความเป็นเลิศ ซึ่งสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตลอดจนภูมิภาค

พันธกิจ
ดำเนินการวิจัย พัฒนา ออกแบบ วิศวกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของอุตสาหกรรมภายในประเทศให้เข้มแข็งอยางยั่งยืน พร้อมทั้งพัฒนาบุคลากร ตลอดจนเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจ สังคม และชุมชนของประเทศ

กลยุทธ์การดำเนินงาน
สร้างความแตกต่าง (Differentiate) ของผลงานและการประยุกต์ใช้งานก่อนนำไปสู่ความเป็นเลิศในด้านนั้น
ให้ความสำคัญกับโครงการภายใต้ Flagship ของเนคเทคได้แก่ Smart Health, Smart Farm, Digitized Thailand และ Smart Service
ริเริ่มให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะมีความสำคัญในอนาคตในสัดส่วนที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
สื่อสารกลยุทธ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจทั้งระดับนโยบาย ระดับผู้รับประโยชน์ (Stakeholder) และระดับองค์กร




SWOT NECTEC

S (Strength) จุดแข็ง
-      เป็นหน่วยงานที่รองรับผลิตภัณฑ์ทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งในปัจจุบันอุปกรณ์เหล่านี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในสั่งคมไทย
-      เป็นหน่วยงานที่ทันสมัย
-      สามารถพัฒนาหน่วยงานให้ก้าวสู่ความเป็นเลิศได้
-      ประเทศไทยมีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก
W (Weakness) จุดอ่อน
-      ประเทศไทยส่วนใหญ่ยังไม่มีเทคโนโลยีเป็นของตนเองได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ
O (Opportunities) โอกาส
-      ภายในองค์กรสามารถหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านการสร้างนวัตกรรม สนับสนุน ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรให้มีผลงานโดดเด่นจะกระทั่งสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาได้
T (Threat) ภัยคุกคาม

-       ปัจจุบันมีบริษัทเอกชนที่ทำงานลักษณะเดียวกับเป็นจำนวนมาก 

------------------------------------------------------------





ทฤษฎีการบริหารสมัยใหม่
(Modern Management Theory or Behavioral Approach to Management)
------------------------------------------------------------------

แนวคิดใหม่ของนักวิชาการและนักบริหารคือ ความพยายามเพิ่มประสิทธิภาพองค์การ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ กลุ่มนี้มีแนวคิดว่า การบริหารจะประสบความสำเร็จได้ คนในองค์การต้องร่วมมือ ร่วมใจ สามัคคี มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน การทำงานต้องเป็นทีม(Team) และการบริหารต้องจัดเป็นระบบ (System) ขั้นตอนการทำงานต้องสัมพันธ์กัน กลุ่มนักวิชาแนวคิดนี้จึงได้เสนอ
-       ทฤษฎีระบบ (System Theory)
-       ทฤษฎีการบริหารงานตามวัตถุประสงค์ (Management by Objective :MBO)
-       ทฤษฎีการพัฒนาองค์การ (Organization Development :OD)
-       ทฤษฎีการบริหารงานตามสถานการณ์ (Situational or Contingency approach)
Modern Management มีดังนี้
1) Chester I. Barnard ( 1938)
Barnard ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งพฤติกรรมศาสตร์ (Behavior science) เขาเป็นประธานของบริษัท New Jersey Bell ในปี ค.ศ. 1927 เขาใช้ประสบการณ์ในการบริหารงานและการทำงาน ความรู้ทางด้านสังคมวิทยา ปรัชญา สร้างทฤษฎีชีวิตทางด้านองค์การขึ้น
แนวคิดของ Barnard
-องค์การ เป็นโครงสร้างทางสังคม (Social structure) เป็นที่รวมของกายภาพ (เกี่ยวกับสิ่งไม่มีชีวิต) ชีวภาพ บุคคล และสังคม ซึ่งมีความสลับซับซ้อน และมีพลวัต (แรงและผลของแรง)
-การบริหาร จัดการต้องเป็นไปทั้งระบบ (wholes) มากกว่าเป็นส่วนๆ (piece by piece) ดังเช่นนักทฤษฎีสมัยก่อน เขาได้เน้นเรื่องราวทางด้านจิตวิทยาองค์การ ซึ่งนับได้ว่าเป็นทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่
-พฤติกรรมศาสตร์ (Behavior science) เห็นว่า คนคือหัวใจของการผลิต เทคโนโลยี กฎที่ทำงานหรือมาตรฐาน ไม่ได้เป็นหลักประกันผลงานที่ดีเสมอไป แต่ผลงานที่ดีจะมาจากการจูงใจคน
-ระบบ (Sytem) หมายถึงสิ่งต่างๆ ที่ต้องพึ่งพากัน และรวมกันเป็นหนึ่งเดียว เช่นร่างกาย
-ระบบบริหารจัดการ (Management system) หมายถึงส่วนต่างๆ จำนวนหนึ่งที่สัมพันธ์และขึ้นอยู่ต่อกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง ให้สำเร็จตามความต้องการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ความสามารถ และความอ่อนไหว ในความรู้สึกของผู้บริหาร จะช่วยให้พนักงานมีความร่วมมือนำไปสู้ผลผลิตที่สูง และจะต้องบริหารทั้งระบบไม่เพียงแต่มนุษยสัมพันธ์เท่านั้น
-การสื่อสาร (Communication) เป็นส่วนสำคัญขององค์การ เพราะจะเชื่อมโยงช่องว่างระหว่างความยินดีที่จะรับใช้กับเป้าหมายขององค์การความยินดีที่จะรับใช้ของเอกบุคคลการ สื่อสารข้อมูล เป้าหมายขององค์การ
รูปแสดง ระบบความร่วมมือของ Barnard
แนวคิดเรื่องระบบทั่วไป Bertalanffy บิดาแห่งทฤษฎีระบบทั่วไป (General systems Theory) อธิบายว่า ถ้าต้องการสิ่งที่รวมกันเป็นส่วนใหญ่ ต้องทราบส่วนย่อยต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยนั้น นักทฤษฎีแนวนี้ เห็นว่าโลกประกอบด้วยระบบต่างๆ มีลำดับชั้น จากระบบเฉพาะเจาะจง ไปสู่ระบบที่มีลักษณะทั่วไป
นอกจากจะมองเป็นระดับแล้ว องค์การยังแบ่งเป็นระบบปิด(Closed system) คือระบบที่พึ่งตนเองได้ และระบบเปิด (Open system) คือระบบที่ต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด
2) การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น (Japanese Practice in Management)
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จทางด้านเศรษฐกิจอย่างมาก มีบริษัทต่างหันมาสนใจรูปแบบการบริหารแบบญี่ปุ่น แต่การบริหารจัดการแบบนั้น ไม่สามารถนำไปใช้ได้หมดกับทุกชาติ ทั้งนี้พบว่าพื้นฐาน ประเพณี วัฒนธรรมของญี่ปุ่น ไม่เหมือนกับชาติอื่น ดังนี้
1.     ปัจจัยพื้นฐานของการบริหาร
1.1   ลัทธิกลุ่มนิยม เป็นลักษณะเด่น นิยมทำงานเป็นทีม กลุ่มลงมติ สมาชิกมีความสุขเมื่อได้มีส่วนร่วมในงาน ช่วยเหลือ ประสานงาน ทุกอย่างมีความชัดเจนไม่คลุมเครือ
1.2   สังคมญี่ปุ่นมีลักษณะเด่น เป็นเกาะ เกิดความเข้าใจกัน เชื่อถือกัน ลักษณะองค์การมีการติดต่อสื่อสารที่ดี ง่าย ไม่เป็นทางการ
1.3   มีการฝึกอบรมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
1.4   เน้นทำงานกลุ่ม
1.5   การตัดสินใจโดยการลงมติ 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ให้ผู้บริหารพิจารณา ส่วนที่ 2 ตัดสินใจ
1.6   การประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีความซับซ้อน
1.7   ให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่ดีแก่พนักงาน
1.8   เป็นองค์การแบบง่าย และมีความยึดหยุ่น
1.9   การวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว
1.10 บริษัทเป็นฐานลัทธิ สหภาพแรงงาน
1.11 มีความจงรักภักดีต่อบริษัท
2.     ระดับชาติ
2.1   ศาสนาชินโต ไม่มีศาสดา ทำให้ทุกคนรู้สึกเป็นพี่น้องกัน และไม่มีใครอยากเด่น
2.2   การยึดถือดอกไม้ประจำชาติ คือดอกซากุระ เป็นลักษณะดอกไม้ที่เผชิญกับดินฟ้าอากาศ อดทน ออกดอกพร้อมกัน และร่วงพร้อมกัน
3.     ระดับคณะกรรมการทั้งรัฐ/เอกชน
3.1   ถือว่าทุกคนในองค์การเป็นสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน
3.2   มุ่งสร้างสัมพันธ์ของคนในองค์การให้กระชับ แน่นแฟ้น สามัคคี
3.3   มีความไว้วางใจกันและกัน สมาชิกมุ่งสร้างความเจริญ ทำกำไรให้องค์การ
3.4   ผู้บริหารและสมาชิกทุกคนยอมสละความสุขส่วนตัว เพื่อมุ่งสร้างความเจริญแก่องค์การ

4.     ระดับผู้นำ
4.1   ผู้บริหารเห็นว่าสมาชิก/ลูกน้อง เป็นลูกหลานต้องดูแล
4.2   ผู้บริหารอยู่กับลูกน้องด้วยความเข้าใจ ไม่ใช้อำนาจ
4.3   ผู้บริหารมองคน และความคิดของคน สำคัญกว่าเทคโนโลยี
4.4   ผู้บริหารเชื่อว่าการใช้อำนาจในการปกครองนั้นไม่ดี เป็นการทำลายความคิดของลูกน้อง
4.5   การตัดสินใจในการทำงานใช้การตัดสินใจเป็นกลุ่ม
4.6   ผู้บริหารมักแต่งตั้งจากระดับล่างขึ้นมา
4.7   ผู้นำขอบคุณลูกน้องที่ทำให้งานสำเร็จ ด้วยความเหนื่อยยาก
4.8   ความสำเร็จและความล้มเหลวขึ้นอยู่กับผู้นำว่าเห็นคุณค่าของลูกน้องเพียงไหน
5.     ระดับสมาชิก/พนักงาน
5.1   ทำงานหนัก และมีมานะอดทน
5.2   คนญี่ปุ่นถือว่าการทำงานเป็นทีมเป็นเรื่องปกติ ไม่คอยปัดแข็งปัดขา กลั่นแกล้ง อยากเด่นคนเดียว
3) ทฤษฎีการบริหารตามสถานการณ์ (Situation or Contingency Approach)
ทฤษฎีนี้ เริมนำมาใช้ใน ค.ศ. 1870 ด้วยนักวิชาการ ไม่เห็นด้วยกับการมีกฎเกณฑ์ หรือมีหนทางเดียวในการปฏิบัติงาน ทฤษฎีนี้เห็นว่า การบริหารจัดการย่อมขึ้นกับสถานการณ์ เป็นลักษณะทฤษฎีที่ปรานีปรานอม ระหว่าทฤษฎีระบบเปิดกว้าง และเป็นนามธรรม กับความเชื่อที่ว่าการปฏิบัติงานขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์โดยเฉพาะ และไม่มองกว้างเหมือนทฤษฎีระบบ
ทฤษฎีการบริหารตามสถานการณ์ เป็นวิธีวิเคราะห์ที่กระทำในระดับที่เหมาะสม สามารถพิจารณาปัญหาได้ดี ไม่กว้าง หรือเฉพาะจุดเกินไป มีความสมดุลระหว่างหลายๆด้าน คือสามารถพิจารณาปัญหาได้กระจ่างและง่าย สามรถใช้หลักวิชาอย่างถูกต้องเหมาะสม และยังสามารถพิจารณาสิ่งที่ยุ่งยาก สับสนไม่ชัดเจน ไปพร้อมกัน

ทฤษฎีนี้ สามารถรับรู้ปัญหาที่ยุ่งยากสับสน ช่วยในการเชื่อมโยงทฤษฎีการบริหารที่เป็นศาสตร์ วิชาการสามารถนำไปสถานการณ์ต่างๆได้โดยตรง ช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจว่าจะใช้เทคนิคอะไร อย่างไรจึงจะให้องค์การบรรลุผลสำเร็จ


--------------------------------------------------------------------------------

การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT)
กลุ่มงาน คอมพิวเตอร์
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรี


จุดแข็ง (strengths)
1.       มีชื่อเสียงด้านทักษะการแข่งหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ
2.       มีความพร้อมด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย
3.       มีบุคลากรที่มีคุณวุฒิ ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถทางด้านหุ่นยนต์(บุคลากรเดิม)
4.       มีระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
5.       มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
6.       มีหลักสูตรทางด้านเทคโนโลยีที่หลากหลายให้นักเรียนได้เลือกเรียน
7.       มีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง เป็นรากฐานในการขับเคลื่อนองค์กร

จุดอ่อน (Weaknesses)
1.       บุคลากรส่วนมากที่เป็นครูบรรจุใหม่และย้ายมาจากองค์กรอื่นยังไม่มีความรู้และทักษะในด้านหุ่นยนต์เท่าที่ควร
2.       การอนุมัติกรอบอัตรากำลังของสถานศึกษายังไม่เป็นไปตามที่ต้องการ
3.       จำนวนบุคลากรไม่เพียงพอ

โอกาส (Opportunities)
1.       สถานศึกษาเปิดโอกาสให้บุคลากรเพิ่มพูนความรู้ โดยให้เข้ารับการอบรมอยู่เสมอ
2.       ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และชุมชนภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นวิทยากรให้ความรู้
3.       ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี สถาบันปัญญาภิวัฒน์ เป็นต้น
4.       มีชมรมหุ่นยนต์เพื่อคัดเลือกและฝึกซ้อมนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
5.       มีการจัดส่งนักเรียนเข้าประกวด แข่งขันทักษะต่างๆอยู่เสมอเพื่อฝึกประสบการณ์ และเป็นการกระตุ้นให้บุคลากร และผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
6.       นักเรียนมีความพร้อมในด้านสถานภาพครอบครัว สติปัญญา ความรู้พื้นฐาน

อุปสรรค (Threats)
1.       มีข้อจำกัดด้านอัตรากำลัง
2.       ด้านการเบิกจ่ายงบประมาณ  เนื่องจากขั้นตอนการเบิกจ่ายงบประมาณของการเงินโรงเรียนไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน จึงทำให้การเบิกจ่ายล่าช้า
3.       เนื่องจากเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีกิจกรรมเยอะ ทำให้ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตรงตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่วางไว้

4.       ปัจจุบันหน่วยงานและสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจในด้านทักษะหุ่นยนต์มากขึ้น ส่งผลให้เกิดคู่แข่งที่มีความพร้อมในด้านเทคนิคและบุคลากร


-----------------------------------------------------------------------------











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การมอบหมายงาน

สัปดาห์ที่ 1  ศึกษาค้นคว้า ทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดทางการบริหารจัดการจัดการระบบงาน ECT มอบหมายงานให้ไปศึกษาดูงานการบริหารจัดการองค์กรที่เกี่...